วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ประโยค

    ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีใจความสมบูรณ์ ประกอบด้วย ภาคประธานและภาคแสดง

ใครทำอะไร

ที่ไหน

อย่างไร

ประโยคแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ
๑. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
๒. ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค)
๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)

๑. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว
มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว เช่น

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

หมายเหตุ

ฝนตก

ฝน

ตก

ประโยคที่กริยา

ไม่ต้องมีกรรมมารับ

น้ำไหล

น้ำ

ไหล

ไฟดับ

ไฟ

ดับ

แดดออก

แดด

ออก

ลมพัด

ลม

พัด

ฟ้าร้อง

ฟ้า

ร้อง

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

หมายเหตุ

นักเรียนทำการบ้าน

นักเรียน

ทำการบ้าน

ทำ = กริยา
การบ้าน = กรรม

ฉันกินผลไม้

ฉัน

กินผลไม้

กิน = กริยา
ผลไม้ = กรรม

พี่ตีงู

พี่

ตีงู

ตี = กริยา
งู = กรรม

สุนัขกัดไกู่

สุนัข

กัดไก่

กัด = กริยา
ไกู่ = กรรม

หมายเหตุ - กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

หมายเหตุ

คุณพ่อเป็นตำรวจ

คุณพ่อ

เป็นตำรวจ

เป็น = กริยา
ตำรวจ = ส่วนเติมเต็ม

หมายเหตุ - "เป็น" เป็นกริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์

ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว

๒. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค) คือประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ประโยค
ขึ้นไปมารวมกัน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว
ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค
เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

ฉันอ่านหนังสือแต่
น้องเล่นตุ๊กตา

ฉันอ่านหนังสือ

น้องเล่นตุ๊กตา

แต่

ประโยคความรวมแบ่งย่อยได้เป็น ๔ แบบ ดังนี้

๒.๑ ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน
และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง
พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๒.๑.๑ ประธานหนึ่งคนทำกริยา ๒ กริยาต่อเนื่องกัน เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

พอฉันทำการบ้านเสร็จก็ไปดูโทรทัศน์ทันที

ฉันทำการบ้านเสร็จ

ฉันไปดูโทรทัศน์

พอ...ก็

๒.๑.๒ ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

สุมาลีและจินดาเรียน
ยุวกาชาดเหมือนกัน

สุมาลีเรียนยุวกาชาด

จินดาเรียนยุวกาชาด

และ

๒.๒ ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน
ส่วใหญ่จะมีสันธาน
แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

ฉันรักเขามากแต่ทว่า
เขากลับไม่รักฉันเลย

ฉันรักเขามาก

เขากลับไม่รักฉันเลย

แต่ทว่า


๒.๓ ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี
กริยา ๒ กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน
หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น


ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

แก้วหรือไม่ก็ก้อยไปช่วยแม่ยกของหน่อยจ้ะ

แก้วไปช่วยแม่ยกของ

ก้อยไปช่วยแม่ยกของ

หรือไม่ก็

๒.๔ ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ
เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค
หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน
จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ
เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

เพราะเธอเป็นคนเห็น
แก่ตัวจึงไม่มีใครคบค้า
สมาคมด้วย

เธอเป็นคนเห็นแก่ตัว
(ประโยคเหตุ)

ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย
(ประโยคผล)

เพราะ...จึง

ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน
ประโยคผลเสมอ


ข้อสังเกต ประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค

๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก(มุขยประโยค)
และประโยคย่อย(อนุประโยค) มารวมเป็นประโยคเดียวกัน โดยมี ประพันธสรรพนาม(ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน)
ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม

ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร

ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(อนุประโยค)

ตัวเชื่อม

ฉันรักเพื่อนที่มีนิสัย
เรียบร้อย

ฉันรักเพื่อน

ที่มีนิสัยเรียบร้อย

ที่
(แทนคำว่า"เพื่อน")

พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อ
ลูกจะมีอนาคตสดใส

พ่อแม่ทำงานหนัก

ลูกจะมีอนาคตสดใส
(ทำงานหนักเพื่ออะไร)

เพื่อ(ขยายวิเศษณ์
"หนัก")

เขาบอกให้
ฉันลุกขึ้นยืนทันที

เขาบอก

ฉันลุกขึ้นยืนทันที
(ขยายกริยา"บอก"
บอกว่าอย่างไร)

ให้

ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ
บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)

อนุประโยคแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ

๓.๑ นามานุประโยค หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(นามานุประโยค)

ตัวเชื่อม

นายกรัฐมนตรีพูดว่า
เยาวชนไทยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต

นายกรัฐมนตรีพูด

เยาวชนไทยต้องมี
ความซื่อสัตย์สุจริต
(เป็นกรรม)

ว่า

พี่สาวทำให้น้องชายเลิกเล่นเกมได้โดยเด็ดขาด

พี่สาวทำ้.....

น้องชายเลิกเล่นเกม
ได้โดยเด็ดขาด
(เป็นกรรม)

ให้

ภาพยนต์เรื่องนี้สอนว่า
ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส

ภาพยนต์เรื่องนี้สอน

ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส
(เป็นกรรม)

ว่า

รัฐสภาจัดงานใหญ่เป็น
เกียรติแก่ผู้แทนราษฎร์

.....เป็นเกียรติแก่
ผู้แทนราษฎร

รัฐสภาจัดงานใหญ่
(เป็นประธาน)

ว่า

๓.๒ คุณานุประโยค หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนาม
หรือสรรพนามให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้
ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(คุณานุประโยค)

ตัวเชื่อม

บ้านสวยที่อยู่บนภูเขา
นั้นเป็นของนักร้องชื่อดัง

บ้านสวยเป็นของนักร้องชื่อดัง

ที่อยู่บนภูเขา
(บ้านอยู่บนภูเขา)

ที่

ครูทุกคนไม่ชอบนักเรียน
ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย

ครูทุกคนไม่ชอบ
นักเรียน

ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย
(นักเรียนแต่งตัวไม่
สุภาพเรียบร้อย)

ที่

คนซึ่งไปรับรางวัลเป็น
น้องสาวของฉันเอง

คนเป็นน้องสาวของ
ฉันเอง

ซึ่งไปรับรางวัล
(คนไปรับรางวัล)

๓.๓ วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน
เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ
เช่น

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(วิเศษณานุประโยค)

ตัวเชื่อม

นักเรียนถูกลงโทษไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน

นักเรียนถูกลงโทษ

ไม่ให้ออกนอกบริเวณ
โรงเรียน

-

หล่อนไปทำงานตั้งแต่
ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง

หล่อนไปทำงาน

ตั้งแต่ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง

ตั้งแต่

ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ


ข้อสังเกต ประโยคความซ้อน
- ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
เรียกว่า นามานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า คุณานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น