วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ประโยคสามัญ

ประโยคสามัญ

ประโยคสามัญ แบ่งเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน จากประโยคทั้งสามนี้เพิ่มคำขยายหรือข้อความขยาย การรวมประโยคดังกล่าวเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นประโยคซับซ้อนขึ้น แต่สามารถสื่อสารชัดเจนและสละสลวย

ประโยคสามัญ เป็นประโยคในภาษาไทย ตามข้อความแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)

คือ ประโยคที่มีข้อความเพียงหนึ่งข้อความ หรือมีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว

หลักภาษาไทยเรียกว่า เอกัตถะประโยค มาจาก เอก + อัตถะ + ประโยค (เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความเดียว เช่น

  • นักเรียนอ่านหนังสือ
  • คุณพ่อกลับบ้านตอนเย็น
  • แม่ค้าขายผักปลา

ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาไม่ต้องมีกรรมมารับภาพ:ประโยคความเดียว1.jpg

ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาต้องมีกรรมมารับภาพ:ประโยคความเดียว2.jpg

ตัวอย่าง ประโยคความเดียว "เป็น" เป็นกิริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์ภาพ:ประโยคความเดียว4.jpg

ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว

2. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค)

หลักภาษาไทยเรียกประโยคชนิดนี้ว่า อเนกัตถะประโยค ซึ่งมาจาก อน + เอก + อัตถะ + ประโยค (อน = ไม่ เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความไม่ใช่หนึ่งข้อความ นั่นคือ ประโยคมีข้อความมากกว่าหนึ่งข้อความ เช่น

  • เงินทองเป็นของหายากและมันคือแก้วสารพัดนึก
  • พิเชษฐ์ร่ำรวยมหาศาลแต่เขาเป็นคนตระหนี่มาก
  • ยุพดีผ่านการสอบมาได้เพราะเธอมีความเพียรพยายามสูง

ประโยคความรวม คือ การนำประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคมารวมกันและเชื่อมประโยคด้วยคำสันธาน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว5.jpg

ประโยคความรวม แบ่งย่อยได้เป็น 4 แบบ ดังนี้

2.1 ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว 2ประโยคที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

ก) ประธานหนึ่งคนทำกริยา 2 กริยาต่อเนื่องกัน เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว6.jpg

ข) ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว7.jpg

2.2 ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว 2 ประโยค ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน ส่วใหญ่จะมีสันธาน แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว8.jpg

2.3 ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี กริยา 2 กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว9.jpg

2.4 ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว10.jpg

ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน ประโยคผลเสมอ และประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค

3. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)

หลักภาษาไทยเรียกประโยคความซ้อนว่า สังกรประโยค (อ่านว่า สัง-กอ-ระ-ประโยค) แปลว่า ประโยคทีส่วนปรุงแต่งให้มีข้อความมากขึ้น เช่น

  • ครูให้รางวัลแก่นักเรียนที่ขยันตั้งใจเรียน (ขยายกรรม)
  • วิโรจน์เดินทางถึงบ้านเมื่อวานนี้เอง (ขยายกริยา)
  • นายแม่นภารโรงถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง (ขยายประธาน)

ประโยคความซ้อน คือ ประโยคประกอบด้วยประโยคหลักหรือมุขประโยคและมีประโยคย่อยหรืออนุประโยคซ้อน อยู่ ประโยคย่อยนี้อาจทำหน้าที่ขยายประธาน ขยายกริยาหรือขยายกรรมในประโยคหลัก โดยมีประพันธสรรพนาม (ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม ให้มีรายละเอียดมากขึ้น

ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร
ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลัก ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง

ภาพ:ประโยคความเดียว11.jpg

ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)

ประโยคย่อย หรืออนุประโยคแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ

1. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น

  • คนทะเลาะกันก่อความรำคาญให้เพื่อนบ้าน
คนทะเลาะกัน ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
  • ฉันไม่ชอบคนเอาเปรียบผู้อื่น
คนเอาเปรียบผู้อื่น ทำหน้าที่เหมือนคำนาม

ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว12.jpg

2. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนามหรือสรรพนาม เช่น

  • ดอกไม้ที่อยู่ในสวนข้างบ้านบานสะพรั่ง
ที่อยู่ในสวนข้างบ้าน ขยาย ดอกไม้
  • ฉันชอบเสื้อที่แขวนอยู่หน้าร้าน
ที่แขวนอยู่หน้าร้าน ขยาย เสื้อ

ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว13.jpg

3 ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยาหรือวิเศษณ์ เช่น

  • เขาพูดเร็วจนฉันฟังไม่ทัน
จนฉันฟังไม่ทัน ขยาย เร็ว
  • ฉันหวังว่าคุณจะมา
ว่าคุณจะมา ขยาย หวัง

ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนามหรือสรรพนามให้ได้ความ ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว14.jpg

ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์ เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว15.jpg

ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ

[แก้ไข] สรุป ประโยคความซ้อน

  • ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
เรียกว่า นามานุประโยค
  • ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า คุณานุประโยค
  • ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค

ประโยคความซ้อน

ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก (มุขยประโยค) และประโยคย่อย (อนุประโยค) มารวมเป็นประโยคเดียวกัน โดยมี ประพันธสรรพนาม (ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม

ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร

ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง


ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(อนุประโยค)

ตัวเชื่อม

ฉันรักเพื่อนที่มีนิสัย
เรียบร้อย

ฉันรักเพื่อน

ที่มีนิสัยเรียบร้อย

ที่
(แทนคำว่า"เพื่อน")

พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อ
ลูกจะมีอนาคตสดใส

พ่อแม่ทำงานหนัก

ลูกจะมีอนาคตสดใส
(ทำงานหนักเพื่ออะไร)

เพื่อ(ขยายวิเศษณ์
"หนัก")

เขาบอกให้
ฉันลุกขึ้นยืนทันที

เขาบอก

ฉันลุกขึ้นยืนทันที
(ขยายกริยา"บอก"
บอกว่าอย่างไร)

ให้

ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรม หรือบทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)


อนุประโยคแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ

๓.๑ นามานุประโยค หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น


ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(นามานุประโยค)

ตัวเชื่อม

นายกรัฐมนตรีพูดว่า
เยาวชนไทยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต

นายกรัฐมนตรีพูด

เยาวชนไทยต้องมี
ความซื่อสัตย์สุจริต
(เป็นกรรม)

ว่า

พี่สาวทำให้น้องชายเลิกเล่นเกมได้โดยเด็ดขาด

พี่สาวทำ้.....

น้องชายเลิกเล่นเกม
ได้โดยเด็ดขาด
(เป็นกรรม)

ให้

ภาพยนตร์เรื่องนี้สอนว่า
ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส

ภาพยนตร์เรื่องนี้สอน

ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส
(เป็นกรรม)

ว่า

รัฐสภาจัดงานใหญ่เป็น
เกียรติแก่ผู้แทนราษฎร์

.....เป็นเกียรติแก่
ผู้แทนราษฎร

รัฐสภาจัดงานใหญ่
(เป็นประธาน)

ว่า

๓.๒ คุณานุประโยค หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนามหรือสรรพนามให้ได้ความ ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น


ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(คุณานุประโยค)

ตัวเชื่อม

บ้านสวยที่อยู่บนภูเขา
นั้นเป็นของนักร้องชื่อดัง

บ้านสวยเป็นของนักร้องชื่อดัง

ที่อยู่บนภูเขา
(บ้านอยู่บนภูเขา)

ที่

ครูทุกคนไม่ชอบนักเรียน
ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย

ครูทุกคนไม่ชอบ
นักเรียน

ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย
(นักเรียนแต่งตัวไม่
สุภาพเรียบร้อย)

ที่

คนซึ่งไปรับรางวัลเป็น
น้องสาวของฉันเอง

คนเป็นน้องสาวของ
ฉันเอง

ซึ่งไปรับรางวัล
(คนไปรับรางวัล)

ซึ่ง

๓.๓ วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ฯลฯ
เช่น


ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(วิเศษณานุประโยค)

ตัวเชื่อม

นักเรียนถูกลงโทษไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน

นักเรียนถูกลงโทษ

ไม่ให้ออกนอกบริเวณ
โรงเรียน

-

หล่อนไปทำงานตั้งแต่
ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง

หล่อนไปทำงาน

ตั้งแต่ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง

ตั้งแต่

ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ

ข้อสังเกต ประโยคความซ้อน
- ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
เรียกว่า นามานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า คุณานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค

ประโยคแสดงเงื่อนไข

ประโยคแสดงเงื่อนไข ในที่นี้หมายถึง ประโยคที่มีเนื้อความแบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นตัวเงื่อนไข อีกส่วนหนึ่งเป็นผลที่ตามมา

ตัวอย่าง ถ้าเธอขยันเธอจะสอบไล่ได้

ในประโยคนี้จะเห็นว่าความขยันเป็นเงื่อนไขของการสอบไล่ได้ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการสอบไล่ได้เป็นผลของเงื่อนไขคื อความขยัน

ถ้าดินฟ้าอากาศอำนวย พวกเราจะไปเที่ยวสวนพฤกษชาติกัน

ในประโยคนี้ การที่ดินฟ้าอากาศอำนวย เป็นเงื่อนไขของการที่พวกเราจะไปเที่ยวสวนพฤกษชาติกัน หรืออีกนัยหนึ่ง

การที่พวกเราจะได้ไปเที่ยวสวนพฤกษชาติกันเป็นผลอันเนื่องมาแต่เ งื่อนไขที่ว่าสภาพดินฟ้าอากาศอำนวยให้

ถ้าเราไม่ต้องการให้ประเทศของเรากลายสภาพเป็นทะเลทราย เราต้องไม่ทำลายป่าไม้

ในประโยคนี้การไม่ต้องการให้ประเทศกลายสภาพเป็นทะเลทรายเป็นเงื ่อนไขของการสรุปว่าเราต้องไม่ทำลายป่าไม้ หรืออีกนัยหนึ่ง การสรุปว่า เราต้องไม่ทำลายป่าไม้เป็นผลของเงื่อนไขที่ว่าเราไม่ต้องการให้ ประเทศของเรากลายสภาพเป็นทะเลทราย

ประโยคนี้ อาจเขียนให้ต่างไปจากข้างต้น เป็นว่า

ถ้าเราไม่ทำลายป่าไม้ ประเทศของเราจะไม่กลายเป็นทะเลทราย หรือการที่ประเทศไม่กลายเป๋นทะเลทราย เป็นผลของการไม่ทำลายป่าไม้

จากตัวอย่างข้างต้น ประโยคที่แสดงเงื่อนไขล้วนเชื่อมด้วยสันธาน ถ้า ทั้งสิ้น ข้อความที่อยู่ข้างหลัง ถ้า เป็นตัวเงื่อนไข ส่วนข้อความอีกประโยคหนึ่งเป็นผล


นอกจากสันธาน ถ้า ยังมีสันธานอื่นๆ หรือกลุ่มคำทำหน้าที่สันธานอีกมากที่เชื่อมประโยคแสดงเงื่อนไขไ ด้ เช่น

เมื่ออ่านจบแล้ว ขอให้ส่งคืนด้วย

ในประโยคนี้ อ่านจบ เป็นเงื่อนไขของการที่ต้องส่งคืน

ในกรณีที่มีคนสนใจมาก เราจะขยายวันแสดงออกไป

ในประโยคนี้ การที่มีคนสนใจมาก เป็นเงื่อนไขของการแสดงออกไป

เราจะจ่ายค่าจ้างก็ต่อเมื่องานเสร็จตามที่ตกลงกัน

ในประโยคนี้ การที่งานเสร็จตามที่ตกลงกัน เป็นเงื่อนไขของการจ่ายค่าจ้าง

หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง

เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย

ในประโยคนี้ การที่สยามคงอยู่ เป็นเงื่อนไขของการคงอยู่ของเรา

ถ้าหากว่า ทีมของเราเล่นได้ดีเหมือนวันนี้ วันแข่งขันจริงต้องได้ครองถ้วยแน่

ในประโยคนี้ การเล่นได้ดีเหมือนวันนี้ เป็นเงื่อนไขของการที่จะได้ครองถ้วยในวันแข่งขันจริง

นักเรียนจะเลือกอ่านหนังสือเล่มใดก็ได้ ทั้งนี้ต้องเป็นหนังสือในบัญชีนี้

ในประโยคนี้ หนังสือตามบัญชี เป็นเงื่อนไขของการเลือกหนังสือของนักเรียน

นอกจากนี้ประโยคแสดงเงื่อนไขอาจอยู่ในรูปอื่น เช่น

ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่ยากลำบากเท่านั้น

ในประโยคนี้ ความยากลำบากของบุคคล เป็นเงื่อนไขการช่วยเหลือของข้าพเจ้า หรืออีกนัยหนึ่ง การช่วยเหลือของข้าพเจ้า เป็นผลของการที่มีผู้ยากลำบาก

สรุปแล้วจะเห็นว่า ประโยคที่แสดงเงื่อนไขนั้นอาจเป็นประโยคที่ใช้สันธาน หรือประพันธสรรพนามทำหน้าที่เชื่อมประโยคก็ได้ จึงไม่จัดประโยคที่แสดงเงื่อนไขเข้าไว้ในประโยคความรวมหรือประโ ยคความซ้อนให้ตายตัวลงไป

ประโยคแสดงเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ก็อาจมีความซับซ้อนได้เช่น้ดีย วกันทั้งในส่วนที่เป็นเงื่อนไขและเป็นส่วนที่เป็นผลของเงื่อนไข

ตัวอย่าง

ประโยคเงื่อนไขธรรมดา

ถ้าเธอขยันเธอจะสอบไล่ได้

ประโยคเงื่อนไขที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นจะเป็นได้หลายแบบ เช่น

ถ้าเธอขยันขึ้นอีกสักนิด เธอจะสอบไล่ได้อย่างแน่นอน

ภาคแสดงของส่วนของเงื่อนไขและส่วนผลถูกขยายให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยกลุ่มคำขึ้นอีกสักนิด และ อย่างแน่นอน

ถ้าเธอขยันและข้อสอบไม่ยากเกินไป เธอจะสอบไล่ได้อย่างแน่นอน

ส่วนของเงื่อนไขเป็นประโยคความรวม ประกอบด้วย เธอขยัน ประโยคหนึ่ง และ ข้อสอบไม่ยากเกินไป อีกประโยคหนึ่ง

ถ้าเธอขยันและข้อสอบไม่ยากเกินไป เธอจะสอบไล่ได้อย่างแน่นอน หากเธอไม่โชคร้ายจนเกินไป

ประโยคข้างต้นนี้ เพิ่มเงื่อนไขเข้ามาอีกประโยคหนึ่ง คือ เธอไม่โชคร้ายจนเกินไป

ประโยค

    ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีใจความสมบูรณ์ ประกอบด้วย ภาคประธานและภาคแสดง

ใครทำอะไร

ที่ไหน

อย่างไร

ประโยคแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ
๑. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
๒. ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค)
๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)

๑. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว
มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว เช่น

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

หมายเหตุ

ฝนตก

ฝน

ตก

ประโยคที่กริยา

ไม่ต้องมีกรรมมารับ

น้ำไหล

น้ำ

ไหล

ไฟดับ

ไฟ

ดับ

แดดออก

แดด

ออก

ลมพัด

ลม

พัด

ฟ้าร้อง

ฟ้า

ร้อง

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

หมายเหตุ

นักเรียนทำการบ้าน

นักเรียน

ทำการบ้าน

ทำ = กริยา
การบ้าน = กรรม

ฉันกินผลไม้

ฉัน

กินผลไม้

กิน = กริยา
ผลไม้ = กรรม

พี่ตีงู

พี่

ตีงู

ตี = กริยา
งู = กรรม

สุนัขกัดไกู่

สุนัข

กัดไก่

กัด = กริยา
ไกู่ = กรรม

หมายเหตุ - กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

หมายเหตุ

คุณพ่อเป็นตำรวจ

คุณพ่อ

เป็นตำรวจ

เป็น = กริยา
ตำรวจ = ส่วนเติมเต็ม

หมายเหตุ - "เป็น" เป็นกริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์

ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว

๒. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค) คือประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ประโยค
ขึ้นไปมารวมกัน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว
ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค
เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

ฉันอ่านหนังสือแต่
น้องเล่นตุ๊กตา

ฉันอ่านหนังสือ

น้องเล่นตุ๊กตา

แต่

ประโยคความรวมแบ่งย่อยได้เป็น ๔ แบบ ดังนี้

๒.๑ ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน
และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง
พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๒.๑.๑ ประธานหนึ่งคนทำกริยา ๒ กริยาต่อเนื่องกัน เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

พอฉันทำการบ้านเสร็จก็ไปดูโทรทัศน์ทันที

ฉันทำการบ้านเสร็จ

ฉันไปดูโทรทัศน์

พอ...ก็

๒.๑.๒ ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

สุมาลีและจินดาเรียน
ยุวกาชาดเหมือนกัน

สุมาลีเรียนยุวกาชาด

จินดาเรียนยุวกาชาด

และ

๒.๒ ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน
ส่วใหญ่จะมีสันธาน
แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

ฉันรักเขามากแต่ทว่า
เขากลับไม่รักฉันเลย

ฉันรักเขามาก

เขากลับไม่รักฉันเลย

แต่ทว่า


๒.๓ ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี
กริยา ๒ กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน
หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น


ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

แก้วหรือไม่ก็ก้อยไปช่วยแม่ยกของหน่อยจ้ะ

แก้วไปช่วยแม่ยกของ

ก้อยไปช่วยแม่ยกของ

หรือไม่ก็

๒.๔ ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ
เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค
หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน
จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ
เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

เพราะเธอเป็นคนเห็น
แก่ตัวจึงไม่มีใครคบค้า
สมาคมด้วย

เธอเป็นคนเห็นแก่ตัว
(ประโยคเหตุ)

ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย
(ประโยคผล)

เพราะ...จึง

ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน
ประโยคผลเสมอ


ข้อสังเกต ประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค

๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก(มุขยประโยค)
และประโยคย่อย(อนุประโยค) มารวมเป็นประโยคเดียวกัน โดยมี ประพันธสรรพนาม(ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน)
ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม

ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร

ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(อนุประโยค)

ตัวเชื่อม

ฉันรักเพื่อนที่มีนิสัย
เรียบร้อย

ฉันรักเพื่อน

ที่มีนิสัยเรียบร้อย

ที่
(แทนคำว่า"เพื่อน")

พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อ
ลูกจะมีอนาคตสดใส

พ่อแม่ทำงานหนัก

ลูกจะมีอนาคตสดใส
(ทำงานหนักเพื่ออะไร)

เพื่อ(ขยายวิเศษณ์
"หนัก")

เขาบอกให้
ฉันลุกขึ้นยืนทันที

เขาบอก

ฉันลุกขึ้นยืนทันที
(ขยายกริยา"บอก"
บอกว่าอย่างไร)

ให้

ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ
บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)

อนุประโยคแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ

๓.๑ นามานุประโยค หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(นามานุประโยค)

ตัวเชื่อม

นายกรัฐมนตรีพูดว่า
เยาวชนไทยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต

นายกรัฐมนตรีพูด

เยาวชนไทยต้องมี
ความซื่อสัตย์สุจริต
(เป็นกรรม)

ว่า

พี่สาวทำให้น้องชายเลิกเล่นเกมได้โดยเด็ดขาด

พี่สาวทำ้.....

น้องชายเลิกเล่นเกม
ได้โดยเด็ดขาด
(เป็นกรรม)

ให้

ภาพยนต์เรื่องนี้สอนว่า
ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส

ภาพยนต์เรื่องนี้สอน

ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส
(เป็นกรรม)

ว่า

รัฐสภาจัดงานใหญ่เป็น
เกียรติแก่ผู้แทนราษฎร์

.....เป็นเกียรติแก่
ผู้แทนราษฎร

รัฐสภาจัดงานใหญ่
(เป็นประธาน)

ว่า

๓.๒ คุณานุประโยค หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนาม
หรือสรรพนามให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้
ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(คุณานุประโยค)

ตัวเชื่อม

บ้านสวยที่อยู่บนภูเขา
นั้นเป็นของนักร้องชื่อดัง

บ้านสวยเป็นของนักร้องชื่อดัง

ที่อยู่บนภูเขา
(บ้านอยู่บนภูเขา)

ที่

ครูทุกคนไม่ชอบนักเรียน
ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย

ครูทุกคนไม่ชอบ
นักเรียน

ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย
(นักเรียนแต่งตัวไม่
สุภาพเรียบร้อย)

ที่

คนซึ่งไปรับรางวัลเป็น
น้องสาวของฉันเอง

คนเป็นน้องสาวของ
ฉันเอง

ซึ่งไปรับรางวัล
(คนไปรับรางวัล)

๓.๓ วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน
เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ
เช่น

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(วิเศษณานุประโยค)

ตัวเชื่อม

นักเรียนถูกลงโทษไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน

นักเรียนถูกลงโทษ

ไม่ให้ออกนอกบริเวณ
โรงเรียน

-

หล่อนไปทำงานตั้งแต่
ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง

หล่อนไปทำงาน

ตั้งแต่ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง

ตั้งแต่

ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ


ข้อสังเกต ประโยคความซ้อน
- ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
เรียกว่า นามานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า คุณานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค


คำสนธิ

คำสนธิ

สนธิ เป็น การเปลี่ยนแปลงเสียงตามหลักภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อเสียงสองเสียงอยู่ใกล้กัน จะมีการกลมกลืนเป็นเสียงเดียวกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะสระและนิคหิตที่ มาเชื่อมเพื่อการกลมกลืนเสียงให้เป็นธรรมชาติของการออกเสียง และทำให้คำเหล่านั้นมีเสียงสั้นเข้า เช่น

สุข + อภิบาล เป็น สุขาภิบาล
ภูมิ + อินทร์ เป็น ภูมินทร์
สนธิ มี 3 ลักษณะ คือ
1. สระสนธิ
2. พยัญชนะสนธิ
3. สระสนธิ
1. สระสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้ายสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ เพื่อให้เสียงสระ 2 เสียงได้กลมกลืนเป็นเสียงสระเดียวกัน สระที่เป็นคำท้ายของคำหน้าจะได้แก่ สระอะ อา อิ อี อุ อู เป็นส่วนใหญ่ เช่น

1. สระอะ อา ถ้าสนธิกับสระอะ อา ด้วยกัน จะรวมเป็นสระอะ อา เช่น
เทศ + อภิบาล เป็น เทศาภิบาล
กาญจน + อาภรณ์ เป็น กาญจนาภรณ์
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอะ อาของพยางค์ที่มีตัวสะกด จะรวมเป็นสระอะที่มีตัวสะกด เช่น
มหา + อรรณพ เป็น มหรรณพ
มหา + อัศจรรย์ เป็น มหัศจรรย์
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอิ อี จะรวมเป็นสระอิ อี หรือเอ เช่น
นร + อินทร์ เป็น นรินทร์ หรือ นเรนทร์
มหา + อิสิ เป็น มหิสิ หรือ มเหสี
มหา + อิทธิ เป็น มหิทธิ
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอุ อู จะรวมเป็นสระอุ อู หรือโอ เช่น
มัคค + อุเทศก์ เป็น มัคคุเทศก์
ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์
นย + อุบาย เป็น นโยบาย
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระเอ ไอ โอ เอา จะรวมเป็นเอ ไอ โอ เอา เช่น
ชน + เอก เป็น ชเนก
มหา + โอฬาร เป็น มโหฬาร
โภค + ไอศวรรย์ เป็น โภไคศวรรย์
2. สระอิ อี สนธิกับสระอิ จะรวมเป็นสระอิ เช่น
ภูมิ + อินทร์ เป็น ภูมินทร์
มุนิ + อินทร์ เป็น มุนินทร์
โกสี + อินทร์ เป็น โกสินทร์
แต่ถ้าสระอิ อี สนธิกับสระอื่น เช่น อะ อา อุ โอ มีวิธีการ 2 อย่าง คือ
ก. แปลงรูปอิ อี เป็น ย ก่อน แล้วจึงนำไปสนธิตามแบบ อะ อา แต่ถ้าคำนั้นมีตัวสะกด ตัวตาม ต้องตัดตัวตามออกเสียก่อน เช่น
รัตติ เป็น รัตย ไม่ใช่ รัตติย
อัคคี เป็น อัคย ไม่ใช่ อัคคย
แล้วจึงนำมาสนธิ ดังนี้
มติ + อธิบาย เป็น มัตย + อธิบาย เป็น มัตยาธิบาย
อัคคี + โอภาส เป็น อัคย+ โอภาส เป็น อัคโยภาส
ข. ตัดอิ อี ออก แล้วสนธิแบบ อะ อา เช่น
หัตถี +อาจารย์ เป็น หัตถาจารย์
ศักดิ + อานุภาพ เป็น ศักดานุภาพ
3. สระอุ อู ถ้าสระอุ อูสนธิกัน รวมกันเป็นรูปสระอุ อู เช่น
ครุ, คุรุ + อุปถัมภ์ เป็น คุรุปกรณ์, คุรูปกรณ์
ครุ, คุรุ + อุปถัมภ์ เป็น คุรุปถัมภ์, คุรูปถัมภ์
แต่ถ้าสระอุ อู นี้สนธิกับสระอื่น จะต้องเปลี่ยนรูป อุ อู เป็น ว แล้วสนธิตามแบบ อะ อา เช่น
จักขุ + อาพาธ เป็น จักขว + อาพาธ เป็น จักขวาพาธ
เหตุ + อเนกรรถ เป็น เหตว + อเนกรรถ เป็น เหตวาเนกรรถ
ธนู + อาคม เป็น ธนว + อาคม เป็น ธันวาคม

2. พยัญชนะสนธิ ในภาษาบาลี คือ การนำคำที่ลงท้ายด้วย สระไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้น ด้วยสระหรือพยัญชนะ ส่วนในภาษาสันสกฤต คือ การนำคำที่ลงท้ายด้วย พยัญชนะไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วย สระหรือพยัญชนะ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ยุ่งยาก จะไม่นำมากล่าวในที่นี้ เรารับคำสมาส ที่มีสนธิของภาษาบาลีสันสกฤต มาใช้ เช่น
มน+ ภาว ( บ. ) มนสฺ + ภาว ( ส ) = มโนภาว ไทยใช้ มโนภาพ
เตช + ชย ( บ. ) เตชสิ + ชย ( ส ) = เตโชชย ไทยใช้ เตโชชัย

3. นิคหิตสนธิ ( หรือนิคหิตสนธิ ) เป็นการนำคำที่ลงท้าย นิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วย พยัญขนะหรือสระก็ได้ มีหลักดังนี้

1. ถ้าคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะวรรค ให้แปลงรูปนิคหิตเป็นพยัญชนะท้ายวรรคก่อนแล้วจึงนำไปสนธิกัน
พยัญชนะท้ายวรรคของพยัญชนะวรรคทั้ง 5 วรรค ได้แก่ ง ญ ณ น ม
ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญขนะวรรค ก ได้แก่ ก ข ค ฆ ให้เปลี่ยน ํ เป็น ง ดังนี้
สํ + กร เป็น สังกร สํ + ขาร เป็น สังขาร
สํ + คม เป็น สังคม สํ + คีต เป็น สังคีต

ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค จ ได้แก่ จ ฉ ช ฌ ให้เปลี่ยน ํ เป็น ญ
สํ + จร เป็น สัญจร สํ + ชาติ เป็น สัญชาติ
สํ + ญา เป็น สัญญา สํ + ชย เป็น สัญชัย

ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค ฏ ได้แก่ ฏ ฐ ฑ ม ให้เปลี่ยน ํ เป็น ณ
สํ + ฐาน เป็น สัณฐาน สํ + ฐิติ เป็น สัณฐิติ

ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค ตได้แก่ ต ถ ท ธ ให้เปลี่ยน ํ เป็น น ดังนี้
สํ + ธาน เป็น สันธาน สํ + นิบาต เป็น สันนิบาต

ถ้านิคหิตสนธิกับพยัยชนะวรรค ป ได้แก่ ป ผ พ ภ ให้เปลี่ยน ํ เป็น ม ดังนี้
สํ + ผสฺส เป็น สัมผัสส ( ไทยใช้ สัมผัส )
สํ + ภาษณ เป็น สัมภาษณ์ สํ + ภว เป็น สมภพ

2. ถ้าคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค (พยัญชนะอวรรค) ให้เปลี่ยนเป็นดัง ก่อนแล้วจึงสนธิกัน
พยัญชนะเศษวรรค ได้แก่ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ สนธิดังนี้
สํ + โยค เป็น สังโยค สํ+ วร เป็น สังวร
สํ + วาส เป็น สังวาส สํ+ หร เป็น สังหร
3. ถ้าคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ จะต้องเปลี่ยน ํ เป็น ม ก่อนแล้วจึงสนธิกัน เพื่อให้เสียงของคำเชื่อมกันสนิท
สํ + อาทาน เป็น สมาทาน
สํ + อิทธิ เป็น สมาธิ
การสนธิเป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงเมื่อเสียง 2 เสียงใกล้กัน และการเปลี่ยนแปลงเสียงนี้ จะปรากกในคำสมาสและคำที่ลงอุปสรรค ดังกล่าว เช่น

หัตถี + อาจารย์ เป็น หัตถาจารย์ เป็นคำสนธิที่ปรากฏในคำสมาส
สํ+ ตาน เป็น สันตาน ( ไทยใช้ สันดาน )เป็นคำสนธิที่ปรากฏในคำลงอุปสรรค

ดังนั้น การสนธิจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงเท่านั้น มีอยู่ในการสมาสและการลงอุปสรรค ไม่ใช่การสร้างคำใหม่