วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ประโยคความซ้อน

ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก (มุขยประโยค) และประโยคย่อย (อนุประโยค) มารวมเป็นประโยคเดียวกัน โดยมี ประพันธสรรพนาม (ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม

ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร

ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง


ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(อนุประโยค)

ตัวเชื่อม

ฉันรักเพื่อนที่มีนิสัย
เรียบร้อย

ฉันรักเพื่อน

ที่มีนิสัยเรียบร้อย

ที่
(แทนคำว่า"เพื่อน")

พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อ
ลูกจะมีอนาคตสดใส

พ่อแม่ทำงานหนัก

ลูกจะมีอนาคตสดใส
(ทำงานหนักเพื่ออะไร)

เพื่อ(ขยายวิเศษณ์
"หนัก")

เขาบอกให้
ฉันลุกขึ้นยืนทันที

เขาบอก

ฉันลุกขึ้นยืนทันที
(ขยายกริยา"บอก"
บอกว่าอย่างไร)

ให้

ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรม หรือบทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)


อนุประโยคแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ

๓.๑ นามานุประโยค หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น


ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(นามานุประโยค)

ตัวเชื่อม

นายกรัฐมนตรีพูดว่า
เยาวชนไทยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต

นายกรัฐมนตรีพูด

เยาวชนไทยต้องมี
ความซื่อสัตย์สุจริต
(เป็นกรรม)

ว่า

พี่สาวทำให้น้องชายเลิกเล่นเกมได้โดยเด็ดขาด

พี่สาวทำ้.....

น้องชายเลิกเล่นเกม
ได้โดยเด็ดขาด
(เป็นกรรม)

ให้

ภาพยนตร์เรื่องนี้สอนว่า
ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส

ภาพยนตร์เรื่องนี้สอน

ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส
(เป็นกรรม)

ว่า

รัฐสภาจัดงานใหญ่เป็น
เกียรติแก่ผู้แทนราษฎร์

.....เป็นเกียรติแก่
ผู้แทนราษฎร

รัฐสภาจัดงานใหญ่
(เป็นประธาน)

ว่า

๓.๒ คุณานุประโยค หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนามหรือสรรพนามให้ได้ความ ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น


ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(คุณานุประโยค)

ตัวเชื่อม

บ้านสวยที่อยู่บนภูเขา
นั้นเป็นของนักร้องชื่อดัง

บ้านสวยเป็นของนักร้องชื่อดัง

ที่อยู่บนภูเขา
(บ้านอยู่บนภูเขา)

ที่

ครูทุกคนไม่ชอบนักเรียน
ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย

ครูทุกคนไม่ชอบ
นักเรียน

ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย
(นักเรียนแต่งตัวไม่
สุภาพเรียบร้อย)

ที่

คนซึ่งไปรับรางวัลเป็น
น้องสาวของฉันเอง

คนเป็นน้องสาวของ
ฉันเอง

ซึ่งไปรับรางวัล
(คนไปรับรางวัล)

ซึ่ง

๓.๓ วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ฯลฯ
เช่น


ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(วิเศษณานุประโยค)

ตัวเชื่อม

นักเรียนถูกลงโทษไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน

นักเรียนถูกลงโทษ

ไม่ให้ออกนอกบริเวณ
โรงเรียน

-

หล่อนไปทำงานตั้งแต่
ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง

หล่อนไปทำงาน

ตั้งแต่ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง

ตั้งแต่

ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ

ข้อสังเกต ประโยคความซ้อน
- ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
เรียกว่า นามานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า คุณานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น