วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ประโยคสามัญ

ประโยคสามัญ

ประโยคสามัญ แบ่งเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน จากประโยคทั้งสามนี้เพิ่มคำขยายหรือข้อความขยาย การรวมประโยคดังกล่าวเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นประโยคซับซ้อนขึ้น แต่สามารถสื่อสารชัดเจนและสละสลวย

ประโยคสามัญ เป็นประโยคในภาษาไทย ตามข้อความแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)

คือ ประโยคที่มีข้อความเพียงหนึ่งข้อความ หรือมีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว

หลักภาษาไทยเรียกว่า เอกัตถะประโยค มาจาก เอก + อัตถะ + ประโยค (เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความเดียว เช่น

  • นักเรียนอ่านหนังสือ
  • คุณพ่อกลับบ้านตอนเย็น
  • แม่ค้าขายผักปลา

ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาไม่ต้องมีกรรมมารับภาพ:ประโยคความเดียว1.jpg

ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาต้องมีกรรมมารับภาพ:ประโยคความเดียว2.jpg

ตัวอย่าง ประโยคความเดียว "เป็น" เป็นกิริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์ภาพ:ประโยคความเดียว4.jpg

ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว

2. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค)

หลักภาษาไทยเรียกประโยคชนิดนี้ว่า อเนกัตถะประโยค ซึ่งมาจาก อน + เอก + อัตถะ + ประโยค (อน = ไม่ เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความไม่ใช่หนึ่งข้อความ นั่นคือ ประโยคมีข้อความมากกว่าหนึ่งข้อความ เช่น

  • เงินทองเป็นของหายากและมันคือแก้วสารพัดนึก
  • พิเชษฐ์ร่ำรวยมหาศาลแต่เขาเป็นคนตระหนี่มาก
  • ยุพดีผ่านการสอบมาได้เพราะเธอมีความเพียรพยายามสูง

ประโยคความรวม คือ การนำประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคมารวมกันและเชื่อมประโยคด้วยคำสันธาน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว5.jpg

ประโยคความรวม แบ่งย่อยได้เป็น 4 แบบ ดังนี้

2.1 ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว 2ประโยคที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

ก) ประธานหนึ่งคนทำกริยา 2 กริยาต่อเนื่องกัน เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว6.jpg

ข) ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว7.jpg

2.2 ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว 2 ประโยค ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน ส่วใหญ่จะมีสันธาน แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว8.jpg

2.3 ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี กริยา 2 กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว9.jpg

2.4 ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว10.jpg

ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน ประโยคผลเสมอ และประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค

3. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)

หลักภาษาไทยเรียกประโยคความซ้อนว่า สังกรประโยค (อ่านว่า สัง-กอ-ระ-ประโยค) แปลว่า ประโยคทีส่วนปรุงแต่งให้มีข้อความมากขึ้น เช่น

  • ครูให้รางวัลแก่นักเรียนที่ขยันตั้งใจเรียน (ขยายกรรม)
  • วิโรจน์เดินทางถึงบ้านเมื่อวานนี้เอง (ขยายกริยา)
  • นายแม่นภารโรงถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง (ขยายประธาน)

ประโยคความซ้อน คือ ประโยคประกอบด้วยประโยคหลักหรือมุขประโยคและมีประโยคย่อยหรืออนุประโยคซ้อน อยู่ ประโยคย่อยนี้อาจทำหน้าที่ขยายประธาน ขยายกริยาหรือขยายกรรมในประโยคหลัก โดยมีประพันธสรรพนาม (ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม ให้มีรายละเอียดมากขึ้น

ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร
ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลัก ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง

ภาพ:ประโยคความเดียว11.jpg

ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)

ประโยคย่อย หรืออนุประโยคแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ

1. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น

  • คนทะเลาะกันก่อความรำคาญให้เพื่อนบ้าน
คนทะเลาะกัน ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
  • ฉันไม่ชอบคนเอาเปรียบผู้อื่น
คนเอาเปรียบผู้อื่น ทำหน้าที่เหมือนคำนาม

ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว12.jpg

2. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนามหรือสรรพนาม เช่น

  • ดอกไม้ที่อยู่ในสวนข้างบ้านบานสะพรั่ง
ที่อยู่ในสวนข้างบ้าน ขยาย ดอกไม้
  • ฉันชอบเสื้อที่แขวนอยู่หน้าร้าน
ที่แขวนอยู่หน้าร้าน ขยาย เสื้อ

ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว13.jpg

3 ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยาหรือวิเศษณ์ เช่น

  • เขาพูดเร็วจนฉันฟังไม่ทัน
จนฉันฟังไม่ทัน ขยาย เร็ว
  • ฉันหวังว่าคุณจะมา
ว่าคุณจะมา ขยาย หวัง

ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนามหรือสรรพนามให้ได้ความ ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว14.jpg

ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์ เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ เช่น

ภาพ:ประโยคความเดียว15.jpg

ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ

[แก้ไข] สรุป ประโยคความซ้อน

  • ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
เรียกว่า นามานุประโยค
  • ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า คุณานุประโยค
  • ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค

10 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมาก มีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ
  2. Betting on Football | Betting on Football Online in New Jersey
    Betting on Football Online in New 보령 출장마사지 Jersey 충청남도 출장마사지 is the 전라북도 출장안마 easiest way to enjoy and wager on soccer. You don't need to make 창원 출장샵 a wager to 영천 출장안마 win the match.

    ตอบลบ