ประโยคสามัญ
ประโยคสามัญ แบ่งเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน จากประโยคทั้งสามนี้เพิ่มคำขยายหรือข้อความขยาย การรวมประโยคดังกล่าวเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นประโยคซับซ้อนขึ้น แต่สามารถสื่อสารชัดเจนและสละสลวย ประโยคสามัญ เป็นประโยคในภาษาไทย ตามข้อความแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
คือ ประโยคที่มีข้อความเพียงหนึ่งข้อความ หรือมีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว
หลักภาษาไทยเรียกว่า เอกัตถะประโยค มาจาก เอก + อัตถะ + ประโยค (เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความเดียว เช่น
- นักเรียนอ่านหนังสือ
- คุณพ่อกลับบ้านตอนเย็น
- แม่ค้าขายผักปลา
ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาไม่ต้องมีกรรมมารับ
ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาต้องมีกรรมมารับ
ตัวอย่าง ประโยคความเดียว "เป็น" เป็นกิริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์
ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว
2. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค)
หลักภาษาไทยเรียกประโยคชนิดนี้ว่า อเนกัตถะประโยค ซึ่งมาจาก อน + เอก + อัตถะ + ประโยค (อน = ไม่ เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความไม่ใช่หนึ่งข้อความ นั่นคือ ประโยคมีข้อความมากกว่าหนึ่งข้อความ เช่น
- เงินทองเป็นของหายากและมันคือแก้วสารพัดนึก
- พิเชษฐ์ร่ำรวยมหาศาลแต่เขาเป็นคนตระหนี่มาก
- ยุพดีผ่านการสอบมาได้เพราะเธอมีความเพียรพยายามสูง
ประโยคความรวม คือ การนำประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคมารวมกันและเชื่อมประโยคด้วยคำสันธาน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค เช่น
ประโยคความรวม แบ่งย่อยได้เป็น 4 แบบ ดังนี้
2.1 ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว 2ประโยคที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
ก) ประธานหนึ่งคนทำกริยา 2 กริยาต่อเนื่องกัน เช่น
ข) ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น
2.2 ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว 2 ประโยค ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน ส่วใหญ่จะมีสันธาน แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
2.3 ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี กริยา 2 กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
2.4 ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน ประโยคผลเสมอ และประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค
3. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)
หลักภาษาไทยเรียกประโยคความซ้อนว่า สังกรประโยค (อ่านว่า สัง-กอ-ระ-ประโยค) แปลว่า ประโยคทีส่วนปรุงแต่งให้มีข้อความมากขึ้น เช่น
- ครูให้รางวัลแก่นักเรียนที่ขยันตั้งใจเรียน (ขยายกรรม)
- วิโรจน์เดินทางถึงบ้านเมื่อวานนี้เอง (ขยายกริยา)
- นายแม่นภารโรงถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง (ขยายประธาน)
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคประกอบด้วยประโยคหลักหรือมุขประโยคและมีประโยคย่อยหรืออนุประโยคซ้อน อยู่ ประโยคย่อยนี้อาจทำหน้าที่ขยายประธาน ขยายกริยาหรือขยายกรรมในประโยคหลัก โดยมีประพันธสรรพนาม (ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม ให้มีรายละเอียดมากขึ้น
- ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร
- ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลัก ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)
ประโยคย่อย หรืออนุประโยคแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
1. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น
- คนทะเลาะกันก่อความรำคาญให้เพื่อนบ้าน
- คนทะเลาะกัน ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
- ฉันไม่ชอบคนเอาเปรียบผู้อื่น
- คนเอาเปรียบผู้อื่น ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น
2. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนามหรือสรรพนาม เช่น
- ดอกไม้ที่อยู่ในสวนข้างบ้านบานสะพรั่ง
- ที่อยู่ในสวนข้างบ้าน ขยาย ดอกไม้
- ฉันชอบเสื้อที่แขวนอยู่หน้าร้าน
- ที่แขวนอยู่หน้าร้าน ขยาย เสื้อ
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น
3 ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยาหรือวิเศษณ์ เช่น
- เขาพูดเร็วจนฉันฟังไม่ทัน
- จนฉันฟังไม่ทัน ขยาย เร็ว
- ฉันหวังว่าคุณจะมา
- ว่าคุณจะมา ขยาย หวัง
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนามหรือสรรพนามให้ได้ความ ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์ เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ เช่น
ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ
[แก้ไข] สรุป ประโยคความซ้อน
- ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
- เรียกว่า นามานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
- เรียกว่า คุณานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
- เรียกว่า วิเศษณานุประโยค
ประโยคสามัญ เป็นประโยคในภาษาไทย ตามข้อความแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
คือ ประโยคที่มีข้อความเพียงหนึ่งข้อความ หรือมีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว
หลักภาษาไทยเรียกว่า เอกัตถะประโยค มาจาก เอก + อัตถะ + ประโยค (เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความเดียว เช่น
- นักเรียนอ่านหนังสือ
- คุณพ่อกลับบ้านตอนเย็น
- แม่ค้าขายผักปลา
ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาไม่ต้องมีกรรมมารับ
ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาต้องมีกรรมมารับ
ตัวอย่าง ประโยคความเดียว "เป็น" เป็นกิริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์
ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว
2. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค)
หลักภาษาไทยเรียกประโยคชนิดนี้ว่า อเนกัตถะประโยค ซึ่งมาจาก อน + เอก + อัตถะ + ประโยค (อน = ไม่ เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความไม่ใช่หนึ่งข้อความ นั่นคือ ประโยคมีข้อความมากกว่าหนึ่งข้อความ เช่น
- เงินทองเป็นของหายากและมันคือแก้วสารพัดนึก
- พิเชษฐ์ร่ำรวยมหาศาลแต่เขาเป็นคนตระหนี่มาก
- ยุพดีผ่านการสอบมาได้เพราะเธอมีความเพียรพยายามสูง
ประโยคความรวม คือ การนำประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคมารวมกันและเชื่อมประโยคด้วยคำสันธาน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค เช่น
ประโยคความรวม แบ่งย่อยได้เป็น 4 แบบ ดังนี้
2.1 ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว 2ประโยคที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
ก) ประธานหนึ่งคนทำกริยา 2 กริยาต่อเนื่องกัน เช่น
ข) ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น
2.2 ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว 2 ประโยค ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน ส่วใหญ่จะมีสันธาน แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
2.3 ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี กริยา 2 กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
2.4 ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน ประโยคผลเสมอ และประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค
3. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)
หลักภาษาไทยเรียกประโยคความซ้อนว่า สังกรประโยค (อ่านว่า สัง-กอ-ระ-ประโยค) แปลว่า ประโยคทีส่วนปรุงแต่งให้มีข้อความมากขึ้น เช่น
- ครูให้รางวัลแก่นักเรียนที่ขยันตั้งใจเรียน (ขยายกรรม)
- วิโรจน์เดินทางถึงบ้านเมื่อวานนี้เอง (ขยายกริยา)
- นายแม่นภารโรงถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง (ขยายประธาน)
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคประกอบด้วยประโยคหลักหรือมุขประโยคและมีประโยคย่อยหรืออนุประโยคซ้อน อยู่ ประโยคย่อยนี้อาจทำหน้าที่ขยายประธาน ขยายกริยาหรือขยายกรรมในประโยคหลัก โดยมีประพันธสรรพนาม (ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม ให้มีรายละเอียดมากขึ้น
- ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร
- ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลัก ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)
ประโยคย่อย หรืออนุประโยคแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
1. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น
- คนทะเลาะกันก่อความรำคาญให้เพื่อนบ้าน
- คนทะเลาะกัน ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
- ฉันไม่ชอบคนเอาเปรียบผู้อื่น
- คนเอาเปรียบผู้อื่น ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น
2. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนามหรือสรรพนาม เช่น
- ดอกไม้ที่อยู่ในสวนข้างบ้านบานสะพรั่ง
- ที่อยู่ในสวนข้างบ้าน ขยาย ดอกไม้
- ฉันชอบเสื้อที่แขวนอยู่หน้าร้าน
- ที่แขวนอยู่หน้าร้าน ขยาย เสื้อ
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น
3 ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยาหรือวิเศษณ์ เช่น
- เขาพูดเร็วจนฉันฟังไม่ทัน
- จนฉันฟังไม่ทัน ขยาย เร็ว
- ฉันหวังว่าคุณจะมา
- ว่าคุณจะมา ขยาย หวัง
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนามหรือสรรพนามให้ได้ความ ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์ เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ เช่น
ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ
[แก้ไข] สรุป ประโยคความซ้อน
- ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
- เรียกว่า นามานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
- เรียกว่า คุณานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
- เรียกว่า วิเศษณานุประโยค